top of page

Dr.Pimpan GPT


คือ Chatbot (แชทบอท) ที่ได้รับการอบรม (Train) จากหนังสือ 16 เล่ม และบทความของ รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

สามารถช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ครู อาจารย์ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้สนใจด้านศึกษาศาสตร์ การเรียนการสอนเพื่อการพัฒนา ด้านการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ, การจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังเสริมทักษะการคิด, การประเมินเรียนรู้ด้วยเครื่องมือหลากหลาย, การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้บนฐานการวิจัย, การจัดการชั้นเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก, การสอนงานด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) , การเรียนรู้เชิงรุกและการเสริมสร้างสมรรถนะ

Any Language, Anytime, Anywhere! ทุกที่ทุกเวลาภาษาใดก็ได้ เช่น 汉语, عربي, 日本語, Español, English และไทย! 

 

TIPS คำแนะนำในการใช้งาน

 

1.  เริ่มต้นง่ายๆ “สรุป [..........] ให้ฉัน”

 

2. มีความเฉพาะเจาะจง "บอกฉันเกี่ยวกับ [...........]."

 

3 ใช้คำหลัก “ธีมใน [..........]”

 

4. ทดลองและสำรวจ ลองโต้ตอบแบบต่างๆ และค้นพบความสามารถทั้งหมดของ Chatbot นี้

 

5. ยังสงสัยว่าจะคุยหรือถามอะไรดี ศึกษาหัวข้อในหนังสือและบทความต่างของ รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

Pimpan.png

เกี่ยวกับนักเขียน

รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์

ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนและด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์เป็นผู้เขียนหนังสือด้านการศึกษามากกว่า 30 เล่ม และเป็นวิทยากรบรรยาย ประชุมปฏิบัติการให้กับครูผู้สอนทุกระดับการศึกษาทั่วประเทศ ตลอดจนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

หนังสือของนักเขียน

ปกหนังสือ_edited.jpg

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Pimpan.png

การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC

Pimpan.png
ปก(1)_edited.jpg

ทักษะ 7C ของครู 4.0

Pimpan.png

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สมรรถนะของครูไทยในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21 ของเด็กไทยที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้มี 4 ประการ หรือเรียกว่า CIAC COMPETENCY C Curriculum Competency สมรรถนะด้านพัฒนาหลักสูตร รายวิชา I Instructional Competency สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เน้นเด็กเป็นสำคัญ ด้วยหลากหลายวิธี A Assessment Competency สมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้สู่การทำวิจัย C Classroom Management Competency สมรรถนะด้านการจัดการชั้นเรียน เพื่อสร้าง บรรยากาศเชิงบวก

การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC 

เพื่อการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผู้สอนควรต้องรู้ เข้าใจ ปฏิบัติ ได้อย่างมีความสุข และสนุกกับเด็ก ๆ ทุกคนที่มีความแตกต่างกันทั้งความสามารถ ความถนัด และความสนใจ หนังสือเล่มนี้จะช่วยผู้สอนเข้าใจการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่สามารถเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ของเด็ก และสามารถให้ผู้สอนออกแบบการเรียนการสอน และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างเด็ก 4.0 รวมถึงการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหา เสริมทักษะ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่าน PLC สามารปฏิรูปบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นครูมืออาชีพได้อีกด้วย

ทักษะ 7C ของครู 4.0

ทักษะ 7C เป็นทักษะสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติและพึงมีตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ดังกล่าวในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ทักษะ 7C เป็นทักษะที่ครูควรได้รับการพัฒนาเพื่อการเป็นครูมืออาชีพ เป็นครู 4.0 ซึ่งได้แก่ทักษะต่อไปนี้ 1. ทักษะ C1 : Curriculum construction skills (ปฏิบัติตามมาตรา 27 , 28 , 29 ) 2. ทักษะ C2 : Child – oriented management skills (ปฏิบัติตามมาตรา 22 , 23 , 24 , 29 ) 3. ทักษะ C3 : Classroom innovation implementation skills (ปฏิบัติตามมาตรา 25 , 29 ) 4. ทักษะ C4 : Classroom learning assessment skills (ปฏิบัติตามมาตรา 26 , 29 ) 5. ทักษะ C5 : Classroom action research skills (ปฏิบัติตามมาตรา 30 , 29 ) 6. ทักษะ C6 : Classroom management skills 7. ทักษะ C7 Character development skills (C6 และ C7 ปฏิบัติตามมาตรา 24 (5) และ 29

รู้เนื้อหาก่อน สอนเก่ง

Pimpan.png

สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC & LOGBOOK

Pimpan.png

สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ

Pimpan.png

รู้เนื้อหาก่อน สอนเก่ง

การเปลี่ยนวัฒนธรรมคุณภาพในศตวรรษที่ 21
ครูเก่ง คือ ครูที่รู้ดีในเนื้อหา และรู้ดีในความเป็นครูมืออาชีพ ผู้เขียนเรียกว่า ครูผู้รู้ในเนื้อหา และมีความเป็นครูมืออาชีพ (Teacher Professional Content Knowledge) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า TPCK ครู TPCK ต้องเป็นครูที่มีความรู้ ความกระจ่างในเนื้อหาร่วมกับความเป็นครูมืออาชีพ ผู้มีสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านหลักสูตร 2) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ 3) สมรรถนะด้านการประเมินด้วยวิธีหลากหลาย และ 4) สมรรถนะจัดการชั้นเรียน

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่จะเน้นให้ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่สอนก่อนว่าควรเป็นเนื้อหาใด ประเภทใด เรียงลำดับ เชื่อมโยงอย่างไร และเป็นเนื้อหาตามตัวชี้วัด เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนโดยเลือกยุทธศาสตร์การสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งยังนำเสนอการวิเคราะห์เนื้อหาและตัวชี้วัด ตลอดจนตารางวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้รายวัน ซึ่งมี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2) การเรียนรู้ และ 3) ประเมินผลการเรียนรู้

สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC & LOGBOOK

หนังสือ สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC & Logbook ได้มาจากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน การทำวิจัยตลอดจนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการมานานกว่า 40 ปี ผู้เขียนนำเสนอสาระสำคัญ คือ 1) การสร้างเด็กให้ผลิตนวัตกรรมพื้นฐานด้วยการทำโครงงานผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และเขียน Logbook เป็นหลักฐาน 2) การสร้างครูให้ผลิตนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการทำวิจัยผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และเขียน Logbook เป็นหลักฐาน ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าคุณครูและคณาจารย์ผู้สามารถใช้หนังสือเล่มนี้สอนให้เด็กสร้างและตัวท่านเองสามารถสร้างนวัตกรรมเป็น และสามารถเขียน Logbook ได้

สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ

การเขียนแผนจัดการการเรียนรู้บูรณาการให้มีคุณภาพนั้น ผู้เขียนควรต้องมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อให้ได้แบบการเรียนการสอนไปเป็นแนวทางการศึกษาหรือเขียนแผน นวัตกรรมที่นิยมในปัจจุบัน คือ กระบวนการออกแบบย้อนกลับ (BwD) เป็นกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนกระบวนการหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งพัฒนาโดย Grant Wiggins และ Jay McTighe และได้เขียนไว้ในหนังสือ Understanding by Design (UbD) ซึ่งหมายความว่าผู้สอนควรออกแบบอย่างไรที่ทำ ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจอย่างคงทน หรือมีความจำ ระยะยาว ผู้เรียนจะเข้าใจอย่างชัดเจนนั้นต้องใช้กระบวนการสร้างความหมายหรือสร้างคำอธิบายหรือสร้างความรู้เองจะทำ ให้ผู้เรียนได้ทั้งความรู้ความเข้าใจอย่างลุ่มลึกและได้ทักษะการคิด และผู้เรียนที่มีความเข้าใจจริงจะสามารถถ่ายโอนความรู้ (transfer of learning) หรือ ประยุกต์ความรู้เพื่อสร้างงาน สร้างผลงานอันแสดงความเข้าใจการสร้างผลผลิตใหม่ชิ้นนี้นอกจากเป็นประโยชน์ต่อตนเองแล้วต้องให้ประโยชน์ต่อสังคมดังนั้นกระบวนการออกแบบย้อนกลับจึงเหมาะสมกับการ พัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐาน ในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา (Transformative Education Period) ซึ่งยึดมาตรฐานเป็นหลักสำคัญ การพัฒนาหลักสูตรแบบอิงมาตรฐานด้วยกระบวนการออกแบบย้อนกลับนี้สามารถจะนำ ไปสู่การพัฒนาผู้เรียน ให้มีความเข้าใจที่คงทนแล้วยังเป็นการพัฒนาการคิดผู้เรียนมีโอกาสใช้ICT ในการเรียนรู้ผู้สอนเองต้องใช้การประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง ในการประเมินพฤติกรรมและผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำ ให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จลดจุดบกพร่องของการเรียน อันจะนำ ไปสู่การ วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สิ่งดังกล่าวล้วนทำ ให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนที่มีคุณภาพ และผู้สอนปฏิบัติได้ก็จะนับได้ว่าผู้สอนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงขอให้เอกสารฉบับนี้เกิดประโยชน์ต่อท่านที่สนใจ

ปก(5)_edited.jpg

สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง สร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียน

Pimpan.png
ปก(6)_edited.jpg

สมรรถนะการนิเทศเชิงรุกร่วมพัฒนาผู้บริหารและครูในสถานศึกษา

Pimpan.png
ปก(7)_edited.jpg

ทักษะ 5C

Pimpan.png

สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง สร้างเสริมสมรรถนะของผู้เรียน

ปัจจุบันการศึกษาชาติไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังอยู่ในระหว่างการใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ณ ตอนนี้ การนำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน เรียก แผนการจัดการเรียนรู้สู่ตัวชี้วัด ของมาตรฐานการเรียนรู้อันเป็นลักษณะเฉพาะของหลักสูตรฉบับนี้ การจัดการเรียนการสอนในยุคนี้เน้นเด็กเป็นสำคัญ ในอนาคตอันใกล้จะมีการประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางพื้นฐานอิงสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้จะเน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมสมรรถนะหลักที่นักเรียนทุกคนต้องมี ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการเตรียมครูไทยให้มีสรรถนะความเป็นครูมืออาชีพ โดยเฉพาะเป็นผู้มีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบพลังเสริมสมรรถนะหลักของเด็กไทยให้เป็น เด็กดี เก่ง มีคุณภาพสร้างความรู้ และนวัตกรรม

สมรรถนะการนิเทศเชิงรุกร่วมพัฒนาผู้บริหารและครูในสถานศึกษา...PLC (PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY (PLC) 

PLC (ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนิเทศ ผู้เขียนมีความชื่นชมเป็นพิเศษ จึงเรียกว่า เป็นการนิเทศเชิงรุก และมีแนวคิด สำคัญว่า ไม่ใช่เป็นบทบาทของศึกษานิเทศก์ หรือคณะผู้บริหารสถานศึกษา เท่านั้น แต่ควรเป็นบทบาทของครูในสถานศึกษา จึงจัดให้เป็นอีกสมรรถนะหนึ่ง ของครูมืออาชีพ เรียก สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ที่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่เป็น Coach และ Mentor ด้วยการใช้กระบวนการชี้แนะแบบพี่เลี้ยง (Mentoring-Coaching) พัฒนาครูให้มีการเป็นครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ (DOE) ในยุคสังคม เปลี่ยนแปลงในโลกที่ผันผวน

ทักษะ 5C 

เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนอิงมาตรฐาน ทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ ทักษะ 5C เป็นทักษะสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่ครูต้องปฏิบัติ และ พึงมีตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ดังกล่าวในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษา ทักษะ 5C เป็นทักษะที่ครูควรได้รับการพัฒนาเพื่อการเป็นครูมืออาชีพ ซึ่งได้แก่ ทักษะต่อไปนี้ 1. ทักษะ C1 : Curriculum development skills ( ปฏิบัติตามมาตรา 27 , 28 , 29 ) 2. ทักษะ C2 : learner – centered approach skills ( ปฏิบัติตามมาตรา 22 , 23 , 24 , 29 ) 3. ทักษะ C3 : Classroom innovation implementation ( ปฏิบัติตามมาตรา 25 , 29 ) 4. ทักษะ C4 : Classroom authentic assessment ( ปฏิบัติตามมาตรา 26 , 29 ) 5. ทักษะ C5 : Classroom action research ( ปฏิบัติตามมาตรา 30 , 29 )

ปก(8)_edited.jpg

สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

Pimpan.png
ปก(9)_edited.jpg

การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ 

Pimpan.png
ปก(10)_edited.jpg

กระบวนการออกแบบย้อนกลับ

Pimpan.png

สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ PLC (ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ) เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนิเทศ ผู้เขียนมีความชื่นชมเป็นพิเศษ จึงเรียกว่า เป็นการนิเทศเชิงรุก และมีแนวคิดสำคัญว่า ไม่ใช่เป็นบทบาทของศึกษานิเทศก์ หรือคณะผู้บริหารสถานศึกษาเท่านั้น แต่ควรเป็นบทบาทของครูในสถานศึกษา จึงจัดให้เป็นอีกสมรรถนะหนึ่งของครูมืออาชีพ เรียก สมรรถนะการนิเทศเชิงรุก ที่ทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่เป็น Coach และ Mentor ด้วยการใช้กระบวนการชี้แนะแบบพี่เลี้ยง (Mentoring-Coaching) พัฒนาครูมีสมรรถนะการสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเสริมสมรรถนะรวมทั้งการนำไปใช้ ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมสมรรถนะหลักตามหลักสูตรบนฐานสมรรถนะ คือการพัฒนาครูให้มีการเป็นครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ (DOE) ในยุคสังคมเปลี่ยนแปลงในโลกที่ผันผวน

การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ

 

ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นกลไกสำคัญที่คณะผู้บริหารสถานศึกษาใช้พัฒนาครู สู่การประกันคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ มีสมรรถนะตามหลักสูตรที่กำหนด ตลอดจนมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ อันเป็นการประกันคุณภาพการศึกษาระดับห้องเรียน โดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

กระบวนการออกแบบย้อนกลับ

การพัฒนาหลักสูตรและการออกแบบการสอนอิงมาตรฐาน การออกแบบย้อนกลับ เป็นกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนกระบวนการหนึ่งที่น่าสนใจ ผู้สอนควรออกแบบอย่างไรให้ผู้เรียนมีความเข้าใจอย่างคงทน หรือมีความจำระยะยาว ผู้เรียนจะเข้าใจอย่างชัดเจนนั้น ต้องใช้กระบวนการสร้างความหมาย หรือสร้างคำอธิบาย หรือสร้างความรู้เอง จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจอย่างลุ่มลึก และได้ทักษะการคิด และผู้เรียนที่มีความเข้าใจจริงจะสามารถถ่ายโอนความรู้ หรือประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อสร้างงาน สร้างผลงานอันแสดงความเข้าใจ การสร้างผลผลิตใหม่นี้ นอกจากเป็นประโยชน์ต่อตนเองแล้วยังต้องเป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังนั้นกระบวนการออกแบบย้อนกลับจึงเหมาะสมกับการพัฒนาหลักสูตรอิงมาตรฐานในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษา ซึ่งยึดมาตรฐานเป็นหลักสำคัญ

ปก(11)_edited.jpg

สมรรถนะการจัดการชั้นเรียนเพื่อความพากเพียร เรียนดี มีความสุข

Pimpan.png
ปก(12)_edited.jpg

สมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการสอนบนฐานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

Pimpan.png
16_edited.jpg

สร้างเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน: สืบสอบและคิดระดับสูง ผ่าน PLC

Pimpan.png

สมรรถนะการจัดการชั้นเรียนเพื่อความพากเพียร เรียนดี มีความสุข 

ในยุค Covid-19 และหลังยุค Covid-19 หรือ Coronar เป็นช่วงเวลาที่ ครูประสบปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบ online พบว่า เด็กเรียนรู้ไม่เต็มที่ การพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะ-วินัย เป็นเรื่องยากมาก เพราะทั้งครู และเด็กขาดอุปกรณ์/เครื่องมือทางเทคโนโลยีดิจิทัล ทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน เขตนอกเมือง เขตชนบทยิ่งประสบปัญหามาก จึงต้องมีการแก้ปัญหา ทั้งระดับ โรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับจังหวัด การจัดการชั้นเรียนนั้นเป็นการสร้างความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่ง มีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต ให้มีความกลมกลืนกัน เพื่อทำ ให้ผู้เรียนมีความสุข เกิดความรัก แรงจูงใจ ทำ ให้พากเพียรเรียนรู้ เป็นผู้เรียนรู้ ผู้ริเริ่ม ผู้สร้างนวัตกรรม เป็นพลเมืองดี มีวินัย การจัดการชั้นเรียนเป็นปัจจัยช่วยให้การจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่ผลลัพธ์ การเรียนรู้ตามที่ครูปรารถนา

สมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการสอนบนฐานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 

วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research: CAR) คือ อะไร?...หมายถึง การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการ PDCA ค้นพบนวัตกรรม อาจเป็นองค์ความรู้ใหม่ แนวทาง/วิธีใหม่ สื่อการเรียนการสอน ใหม่มีลักษณะสำคัญอย่างไร...มีลักษณะทำอย่างง่าย (Simple) มีความสำคัญ (Significance) ใช้เวลาดำ เนินการสั้น ๆ (Short) แต่ควรต้องมีการทำ งานแบบ รวมพลัง (Collaboration) วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ดีมีคุณภาพ ควรเกิดจากพลังของชุมชน แห่งการเรียนรู้ร่วมกันดำ เนินการการชี้แนะแบบพี่เลี้ยง ครูสะท้อนคิดให้ครูได้ บทเรียน หาทางแก้ปัญหา เด็กที่ไม่บรรลุเป้าหมายด้วยการหาสาเหตุ และหาวิธี การแก้ไข ซึ่งทำ ได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. ศึกษานวัตกรรมการสอนที่มีอยู่แล้ว นำ มาปรับ/ผสมผสานกับนวัตกรรม หลากหลาย ได้แนวทางใหม่ไปแก้ปัญหา 2. ศึกษาวิธีต่าง ๆ แล้วริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการประยุกต์ความรู้ ทักษะ แรงจูงใจ แรงบันดาลใจ ได้รูปแบบการสอน แนวการสอน เทคนิคการสอน สื่อการเรียนการสอนแบบเทคโนโลยีดิจิทัล หรืออาจเป็นใบงาน ใบกิจกรรม ใบทดลองเชิงสร้างสรรค์

สร้างเสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน: สืบสอบและคิดระดับสูง ผ่าน PLC

การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรู้ สติ ปัญญา จิตใจและความสมบูรณ์ทางร่างกาย มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก การดำ เนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นนั้น ต้องพัฒนาฝึกฝนบ่มเพาะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ (Learning) และมีการนำ ไปใช้และประยุกต์อันก่อให้เกิดสมรรถนะ ที่จะนำ ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและการทำ งานได้อย่างบูรณาการกันสมรรถนะหลัก 6 ประการ ตามหลักสูตรฐานสมรรถนะที่จะมีการประกาศใช้นั้น ได้แก่ 1. การจัดการตนเอง 2. การคิดขั้นสูง 3. การสื่อสาร 4. การรวมพลังทำ งานเป็นทีม 5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง 6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน ถ้ามาพิจารณาสมรรถนะที่ 6 คือ สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่ต้องตระหนักและพิจารณาในการบ่มเพาะให้ผู้เรียนบรรลุสมรรถนะหลัก สมรรถนะที่ 6 อันจะช่วยให้เกิดสมรรถนะอีก 5 ประการได้สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน มีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสืบสอบการคิดระดับสูง การทำ โครงงาน การรักษาระบบนิเวศ การใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กลไกสำคัญที่จะบ่มเพาะและพัฒนาให้ผู้เรียนให้มีสมรรถนะหลัก คือ การจัดการเรียนการสอนสืบสอบแบบต่าง ๆ ร่วมกับจิตวิทยาศาสตร์ แล้วมีการประยุกต์สร้างผลลัพธ์การเรียนรู้กับการจัดการเรียนการสอนเน้นการคิดระดับสูง เช่น PBL PBLSTEM Approach เสริมสร้างนวัตกรรม กลไกสำคัญอีกประการอันเป็นนวัตกรรมที่ช่วยพัฒนาผู้สอนให้มีสมรรถนะจัดการเรียนการสอนข้างต้น คือ การใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป คือ PLC

2(1)_edited.jpg

สอนเด็กทำโครงงาน

Pimpan.png

สอนเด็กทำโครงงาน

สอนอาจารย์ทำวิจัยปฎิบัติการในชั้นเรียน
ครูเก่ง คือ ครูที่รู้ดีในเนื้อหา และรู้ดีในความเป็นครูมืออาชีพ ผู้เขียนเรียกว่า ครูผู้รู้ในเนื้อหา และมีความเป็นครูมืออาชีพ (Teacher Professional Content Knowledge) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า TPCK ครู TPCK ต้องเป็นครูที่มีความรู้ ความกระจ่างในเนื้อหาร่วมกับความเป็นครูมืออาชีพ ผู้มีสมรรถนะ 4 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านหลักสูตร 2) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นสำคัญ 3) สมรรถนะด้านการประเมินด้วยวิธีหลากหลาย และ 4) สมรรถนะจัดการชั้นเรียน หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่จะเน้นให้ครูวิเคราะห์เนื้อหาที่สอนก่อนว่าควรเป็นเนื้อหาใด ประเภทใด เรียงลำดับ เชื่อมโยงอย่างไร และเป็นเนื้อหาตามตัวชี้วัด เพื่อการออกแบบการเรียนการสอนโดยเลือกยุทธศาสตร์การสอนให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งยังนำเสนอการวิเคราะห์เนื้อหาและตัวชี้วัด ตลอดจนตารางวิเคราะห์ไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนองค์ประกอบสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้รายวัน ซึ่งมี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2) การเรียนรู้ และ 3) ประเมินผลการเรียนรู้

Explore more...

bottom of page